Title
การมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี
THE PARTICIPATION OF TEACHERS IN QUALITY ASSURANCE IN THE BASIC EDUCATION SCHOOLS UNDER THE EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE SUPHAN BURI
Name: ประสาร แบงเพชร
Organization : โรงเรียนบ้านห้วยหิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี
ThaSH: ก
Classification :.DDC: 370.2
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินการประกัน คุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจำแนกตามระดับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 1 - 2 และช่วงชั้นที่ 3 - 4 และศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นครูผู้สอนซึ่งทำหน้าที่ครูวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี จำนวน 197 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) ชนิด 3 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น (reliability) เท่ากับ 0.974 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมของครู ในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานในภาพรวมทั้ง 6 ขั้นตอนอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยดังนี้ ขั้นการดำเนินงานตามแผน ขั้นการวางแผน ขั้นการเตรียมการ ขั้นการจัดทำรายงานประจำปี ขั้นการตรวจสอบและประเมินผล และขั้นการนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน 2. ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของครู ในการดำเนินการประกันคุณภาพ ภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามระดับช่วงชั้นที่ 1- 2 และช่วงชั้นที่ 3- 4 ไม่แตกต่างกัน 3. สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา การมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินการ ประกันคุณภาพภายในที่พบมากที่สุดในแต่ละขั้นเรียงตามลำดับความถี่ 3 อันดับแรก ได้แก่ ปัญหา ในขั้นการจัดทำรายงานประจำปี คือ ขาดข้อมูลสารสนเทศในการจัดทำรายงานประจำปี แก้ไขโดยการจัดให้มีการรวบรวมผลการประเมินคุณภาพการศึกษา รองลงมาเป็นปัญหาในขั้นการนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน คือ มักเป็นหน้าที่ของผู้บริหารและครูวิชาการเท่านั้น แก้ไขโดยส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน และปัญหาอันดับที่ 3 เป็นปัญหาในขั้นการวางแผน คือ ขาดการวิเคราะห์ข้อมูลในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แก้ไขโดยคณะครูร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศของสถานศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: กาญจนบุรี
Email: tdc@kru.ac.th
Name: สุภาเพ็ญ จริยะเศรษฐ์
Role: ประธานกรรมการที่ปรึกษา
Name: ธีระพร อายุวัฒน์
Role: กรรมการที่ปรึกษา
Created: 2548
Issued: 2548-09-30
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
ISBN: 9747540886
tha
DegreeName: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: การบริหารการศึกษา
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงและบทบาทที่คาดหวังในการพัฒนา ระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามการรับรู้ของบุคลากรในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี
THE ACTUAL AND THE EXPECTED ROLES OF SCHOOL ADMINISTRATORS IN DEVELOPING INTERNAL QUALITY ASSURANCE SYSTEM AS PERCEIVED BY PERSONNEL IN BASIC EDUCATION SCHOOLS UNDER KANCHANABURI EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE
Name: ชนินทร ศรีทอง
keyword: โรงเรียน การปะเมินคุณภาพการศึกษา
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทปฏิบัติจริงที่คาดหวังของ ผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงและบทบาทที่คาดหวังในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ ภายในตามการรับรู้ของรองผู้บริหารฝ่ ายวิชาการหรือครูวิชาการและครูผู้สอน เปรียบเทียบบทบาท ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงตามการรับรู้ระหว่างรองผู้บริหารฝ่ ายวิชาการหรือครูวิชาการ กับครูผู้สอน และเปรียบเทียบบทบาทที่คาดหวังในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในตามการ รับรู้ระหว่างรองผู้บริหารฝ่ ายวิชาการ หรือครูวิชาการกับครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้น ปีที่ 1-2 สังกัดสา นักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ รองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ ายวิชาการหรือครูวิชาการและ ครูผู้สอน ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1-2 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี จา นวน 326 คน จากสถานศึกษา 163 แห่ง โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS for Windows สถิติที่ใช้และค่าความถี่และร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบด้วยค่าที
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: กาญจนบุรี
Email: tdc@kru.ac.th
Name: วัชรี ชูชาติ
Issued: 2551
Modified: 2554-08-26
Issued: 2554-08-26
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
tha
DegreeName: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: การบริหารการศึกษา
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
RightsAccess:
การจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1-2 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี
THE INFORMATION SYSTEM MANAGEMENT FOR INTERNAL QUALITY ASSURANCE IN LEVEL 1-2 BASIC EDUCATION
Name: ธีรจิต พัฒนกิตติเวทย์
keyword: ระบบสารสนเทศ
Abstract: ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และระหว่างเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 เขต 2 และเขต 3รวมทั้งศึกษาความต้องการในการพัฒนาการจัดการระบบสารสนเทศ เพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1-2 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบงานสารสนเทศ และครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา รวม 288 คน เครื่องที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ข้อคาถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 ค่าสถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างระหว่างคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สาเร็จรูป SPSS for Windows ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการจัดการระบบสารสนเทศ เพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลาดับค่าเฉลี่ย คือด้านการวางแผน ด้านการดาเนินการ ด้านการพัฒนาปรับปรุง และด้านการตรวจสอบ 2. ผลการเปรียบเทียบสภาพการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาจาแนกตามขนาดสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.05 3. ผลการเปรียบเทียบสภาพการจัดการระบบสารสนเทศ เพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จาแนกตามเขตพื้นที่การศึกษา โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4. ความต้องการในการพัฒนา การจัดการระบบสารสนเทศ เพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนรายข้อพบว่าความต้องการในการพัฒนาการจัดการระบบสารสนเทศ ที่มีความต้องการมาก 3 ลาดับแรก คือ พัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถ ในการจัดทาระบบสารสนเทศของสถานศึกษา พัฒนาผู้บริหารให้สามารถนาข้อมูลสารสนเทศ ไปใช้เพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และวัสดุครุภัณฑ์ที่สามารถใช้ในการประมวลผลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
Kanchanaburi Rajabhat University.
Address: KANCHANABURI
Email: tdc@kru.ac.th
Name: สุภาเพ็ญ จริยะเศรษฐ์
Issued: 2551
Modified: 2554-09-24
Issued: 2554-09-24
บทความ/Article
application/octet-stream
tha
DegreeName: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: การบริหารการศึกษา
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น