วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

นวัตกรรมการศึกษาในการพัฒนาทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21

วิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะ และปิยะนันท์ พรึ่งน้อย.(2559) นวัตกรรมการศึกษาในการพัฒนาทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21.วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2559,หน้า 55-78.

บทคัดย่อ

การศึกษาเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศที่คาดหวังที่มีผลต่อบทบาท ต่างๆ ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและ ความรุ่งเรืองของประเทศ ปัจจุบันการพัฒนาการศึกษาไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปตาม บริบทของโลกที่ไม่อยู่นิ่งเพื่อก้าวสู่ศตวรรษใหม่ โดยเป็นได้บรรลุมีเป้าประสงค์หลัก ของการศึกษาที่ชัดเจน มีระบบและกลไกที่จะขับเคลื่อนแนวนโยบายและยุทธศาสตร์ ของชาติโดยต้องดำเนินการทั้งระบบครบวงจรอย่างมีความเข้าใจในภาพรวม เพื่อให้ สามารถกำหนดทิศทางในการพัฒนาและผลักดันให้ทุกองค์ประกอบสามารถดำเนิน ไปได้อย่างสอดคล้องด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนเพื่อเตรียมความพร้อมเยาวชน ให้มีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ซึ่งต้องให้ได้ทั้งสาระวิชาและทักษะ 3 ด้าน คือ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี และ ทักษะชีวิตและอาชีพ เพื่อความสำเร็จทั้งด้านการทำงานและการดำเนินชีวิต ดังนั้น การใช้นวัตกรรมการศึกษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นทั้งด้านหลักสูตรที่หลากหลาย หลักสูตร บูรณาการที่สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียน ด้านการจัดการเรียนการสอนที่ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้านสื่อการสอนที่ทันสมัยใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ เครือข่ายสังคมออนไลน์ ด้านการประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และด้านการบริหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Vlogger เที่ยวบ่อน้ำร้อนถ้ำเขาพลู

https://www.youtube.com/watch?v=Jjecjd9hEZE